เปิดตัวเลขกิจกรรมที่ก่อมลพิษมากที่สุดในโลก ทั้งในภาวะ ‘ปกติ’ และภาวะ ‘สงคราม’ แก้ปัญหาที่ต้นตอ ช่วยให้ถึงเป้าหมาย -1.5 องศา

by ทีม ESGuniverse, 23 พฤษภาคม 2567

เพื่อรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ สิ่งสําคัญคือต้องกําหนดลําดับความสําคัญของกิจกรรม ที่ก่อผลกระทบ และนี่คือกิจกรรมสำคัญๆ ของโลก ทั้งในภาวะปกติ และภาวะสงคราม ที่ก่อมลพิษมากที่สุดในโลก ถ้าหากต้องการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศ สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ ลดคาร์บอน ในกิจกรรมเหล่านี้

 

ถึงตอนนี้ เราทุกคนทราบดีว่า ‘ก๊าซเรือนกระจก’ มีส่วนทําให้เกิดภาวะโลกร้อน และความไม่มั่นคงของสภาพอากาศ “คณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (IPCC) เตือนเราอย่างสม่ำเสมอ ถึงความเร่งด่วนในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุด ของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

เกณฑ์จัดอันดับ ‘ก่อมลพิษมากที่สุด’

การได้รับการจัดอันดับ ให้เป็นมลพิษมากที่สุด หมายความว่า อุตสาหกรรม หรือภาคส่วนใดอุตสาหกรรมหนึ่ง มีตําแหน่งที่โดดเด่น ในแง่ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) และมีส่วนสําคัญต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก

การจัดอันดับนี้ บ่งชี้ว่า การดําเนินงานภายในภาคส่วนนั้น ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษอื่น ๆ จํานวนมาก สู่ชั้นบรรยากาศ ทําให้การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น และทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โดยพื้นฐานแล้ว มันสะท้อนถึงผลกระทบของอุตสาหกรรม ต่อสุขภาพของโลก และเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการดําเนินการ ตามแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน และลดการปล่อยมลพิษ

อุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษสูงสุด

1. เชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่น่าแปลกใจเลย ที่ภาคเชื้อเพลิงฟอสซิล มีมลพิษมากที่สุดในโลก แม้จะมีความรู้นี้ แต่การปล่อยมลพิษ จากเชื้อเพลิงฟอสซิล ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากลดลงช่วงสั้น ๆ ในช่วงการระบาดใหญ่ของ Covid 19 อุตสาหกรรมนี้เติบโตขึ้น 1% ในปี 2022 (พ.ศ. 2565) แตะ 40.5 กิกะตันของ CO2 หรือคิดเป็นปริมาณที่มากกว่า 75% ของการปล่อยมลพิษทั้งหมดของโลก การเปลี่ยนแหล่งพลังงานของเรา จากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ เป็นพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ และลม เป็นสิ่งจําเป็น เพื่อรักษาเสถียรภาพ ของสภาพอากาศ

อย่างไรก็ตาม ภาคเชื้อเพลิงฟอสซิล อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง และมีการริเริ่มที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คาร์บอนเครดิต เพื่อให้เกิดผลกระทบทันที ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการชดเชยการปล่อยมลพิษบางส่วน จากการเข้าร่วมสนับสนุนโครงการต่าง ๆ เช่น การปลูกป่า และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

2. การเกษตร คิดเป็นประมาณ 11% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากข้อมูลของ “องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ” (FAO) การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2eq) ทั่วโลกอยู่ที่ 9.3 พันล้านตัน ในปี 2018 (พ.ศ. 2561) นําโดยการปล่อยก๊าซมีเทน และไนตรัสออกไซด์ จากกิจกรรมพืชผล และปศุสัตว์

มีหลายวิธีในการจัดการ กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคการเกษตร

ประการแรก นับเป็นสิ่งสําคัญ ที่โลกจะเริ่มกินเนื้อสัตว์น้อยลง กระบวนการผลิตปศุสัตว์ เป็นตัวการที่ใหญ่ที่สุด ในการปล่อยมลพิษในฟาร์ม ขนาด 4 พันล้านตันของ CO2eq ในปี 2018 (พ.ศ. 2561) และก่อให้เกิดการตัดไม้ทําลายป่า อย่างกว้างขวาง

ประการที่สอง การเกษตรแบบปฏิรูป ซึ่งบางครั้งเรียกว่า การทําฟาร์มคาร์บอน เป็นวิธีที่ยั่งยืนกว่า ในการผลิตอาหาร ขณะเดียวกัน สามารถกักเก็บคาร์บอนในดินได้มากขึ้น โครงการ Azolla และ ClimateTrade กําลังพัฒนาโครงการทําฟาร์มคาร์บอน ที่สอดคล้องกับสหภาพยุโรปแห่งแรกของสเปน

3. แฟชั่น อุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษมากเป็นอันดับสาม และผลิตคาร์บอนฟุตพริ้นท์ประมาณ 10% ต่อปีให้กับโลกของเรา ซึ่งมากกว่าเที่ยวบินระหว่างประเทศ และการขนส่งทางทะเลทั้งหมดรวมกัน

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ใช่ปัญหาเดียวของภาคแฟชั่น แต่ปัญหาใหญ่พอ ๆ กัน คือการใช้น้ำในปริมาณมโหฬาร มีมากมายล้นเหลือ จนสามารถดับกระหายให้กับผู้คน 5 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้ ยังสร้างพลาสติก และขยะอื่น ๆ หลายล้านตัน ก่อให้เกิดมลพิษ ทั้งในอากาศและในมหาสมุทร

วิธีแก้ปัญหานั้นง่ายมาก: เปลี่ยนจากแฟชั่นที่ใช้เร็ว เปลี่ยนเร็ว มาเป็นการซื้อเสื้อผ้าน้อยลง แต่มีคุณภาพดีกว่า เลือกแบรนด์ที่ยั่งยืน กล้าเปิดเผยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างตรงไปตรงมา และลงมือทำเพื่อลดผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด

4. การค้าปลีกอาหาร รวมถึงกิจกรรมจาก ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหารที่ขายอาหารให้กับผู้บริโภค การปล่อยมลพิษส่วนใหญ่ของภาคส่วนนี้ มาจากขยะอาหาร และพลาสติก คาดว่าขยะอาหารเพียงอย่างเดียว คิดเป็น 8 ถึง 10% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ในสหภาพยุโรป มีการสูญเสียอาหาร 57 ล้านตันทุกปี นั่นคือ 127 กิโลกรัมต่อประชากร โปรแกรมที่รวบรวมอาหาร ที่เหลือจากซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร เพื่อแจกจ่ายฟรี หรือลดราคา เป็นวิธีที่ดี ในการลดการปล่อยมลพิษ ตัวอย่างเช่น ฝรั่งเศสออกกฎหมายในปี 2016 (พ.ศ. 2559) ห้ามซูเปอร์มาร์เก็ตทิ้งอาหาร พวกเขาจะต้องบริจาคของเหลือให้กับสมาคมแทน ซึ่งจะไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่เดือดร้อน อีกทอดหนึ่ง

5. การขนส่ง มีส่วนรับผิดชอบ ต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1 ใน 5 หรือประมาณ 40% มาจากการขนส่งสินค้า ในขณะที่ส่วนที่เหลือ (60%) มาจากการเดินทางของผู้โดยสาร นําโดยการเดินทางทางอากาศ รถยนต์ไฟฟ้า

ทางออกสำหรับปัญหานี้คือ เน้นเลือกใช้เชื้อเพลิงทางเลือก และมองหาความคิดริเริ่มต่าง ๆ เช่น โครงการชดเชย และลดคาร์บอน สําหรับการบินระหว่างประเทศ (CORSIA) ที่กําลังช่วยลดคาร์บอนในภาคส่วนนี้

โซลูชันอื่น ๆ ที่ช่วยลดงผลกระทบ ได้แก่ ความก้าวหน้าของเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน เช่น SAF สําหรับอุตสาหกรรมการบิน และการรวม API ด้านสภาพอากาศ เข้ากับกระบวนการจอง การขนส่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับบริษัทที่จ้างบริการขนส่ง เพื่อจัดการกับการปล่อยมลพิษ ในภาคการขนส่งสินค้าอย่างแข็งขัน พบว่า DP World เป็นหัวหอกหลัก ในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงในภาคการขนส่ง

6. การก่อสร้าง คํานึงถึงการสกัด และการขนส่งวัสดุก่อสร้าง กระบวนการก่อสร้าง การดําเนินงานประจําวัน มีการคาดการณ์ว่า ตัวอาคารจะปล่อยมลพิษประมาณ 40% ของการปล่อยมลพิษทั่วโลก

เพื่อเป็นแนวทางสำหรับภาคการก่อสร้าง นำไปสู่การบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สิ่งสําคัญคือ ต้องสํารวจลู่ทางต่าง ๆ เช่น การใช้วัสดุ และวิธีการที่ยั่งยืนมากขึ้น การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการชดเชยการปล่อยมลพิษที่เหลือ

สงครามสร้างมลพิษ ไม่แพ้เศรษฐกิจ

การวิจัยผลกระทบที่เป็นรูปธรรม: แรงระเบิดจากการปล่อยมลพิษในช่วงสงคราม และการยึดครองอิรักของสหรัฐฯ (Concrete Impacts: Blast Walls, Wartime Emissions, and the US Occupation of Iraq) ได้ระบุว่า

- สงครามสหรัฐยึดครองอิรัก จำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพียงหนึ่งปีแรกที่เกิดสงคราม มีจำนวนเท่ากับ 120 ล้านตัน หรือเทียบเท่ากับ จำนวนการปล่อยมลพิษ ของประเทศเบลเยียม

- กระสุนและวัตถุระเบิด มีการปล่อยคาร์บอนประมาณ 2 ล้านตัน หรือเทียบเท่ากับสเต็กเนื้อเกือบ 1 พันล้านชิ้น หรือการขับรถราวๆ 13 พันล้านกิโลเมตร

เราทุกคนสมควรตระหนักถึง การปล่อยมลพิษ ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง โดยเฉพาะพื้นที่ฉนวนกาซา สงครามยูเครนและอิสราเอล แต่เป็นเพราะร่างกฎหมาย เกี่ยวกับหลักการทางกฎหมาย 27 ประการ เกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางอาวุธ (Protection Of The Environment In Relation To Armed Conflicts: Perac) ที่ผ่านโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 (พ.ศ. 2565) แม้ว่า Perac จะเป็นก้าวสําคัญ แต่ก็ยังไม่ค่อยมีใครคำนึงถึง เรื่องเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในช่วงความขัดแย้งมากนัก

รัฐบาลควรปฏิบัติตามข้อตกลง ในการรายงานการปล่อยมลพิษทางทหารอย่างโปร่งใส และแม่นยำ ผู้คนเริ่มเชื่อมโยงความขัดแย้งทางสงคราม การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปกป้องสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน แต่หัวข้อเหล่านี้ ยังคงมีการรายงานสู่สาธารณะชนไม่มากนัก และยังไม่มีผลการวิจัยรองรับ นี่อาจเป็นเวลาสำคัญ ที่จะฉายสปอตไลท์ ในแง่มุมที่ซุกซ่อนอยู่ ในสงครามนี้

กองทัพสหรัฐฯ ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่

ปกติแล้ว การปล่อยก๊าซเรือนกระจก มักจะถูกโฟกัส แค่เรื่องของปริมาณพลังงาน และเชื้อเพลิง ที่พลเรือนใช้ แต่ในงานวิจัยล่าสุด แสดงให้เห็นว่า กองทัพสหรัฐ เป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ มีการบริโภคเชื้อเพลิงเหลวจำนวนมหาศาล และปล่อยก๊าซที่เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มากกว่าประเทศขนาดกลาง

หากกองทัพสหรัฐเป็นประเทศ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพียงอย่างเดียว ในจำนวนมาก จะกลายเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ใหญ่เป็นอันดับ 47 ของโลก โดยอยู่ระหว่าง เปรู และโปรตุเกส

- ปี 2017 (พ.ศ. 2560) กองทัพสหรัฐฯ ซื้อน้ํามันประมาณ 269,230 บาร์เรลต่อวัน และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่า 25,000 กิโลตัน จากการเผาไหม้เชื้อเพลิง

- กองทัพอากาศสหรัฐฯ ซื้อเชื้อเพลิงมูลค่า 4.9 พันล้านดอลลาร์ และกองทัพเรือ 2.8 พันล้านดอลลาร์ รองลงมาคือกองทัพ 947 ล้านดอลลาร์ และนาวิกโยธิน 36 ล้านดอลลาร์

- ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกองทัพสหรัฐ การศึกษาล่าสุดชิ้นหนึ่ง พบว่า กองทัพมีสัดส่วนเกือบ 5.5% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั่วโลกต่อปี ซึ่งมากกว่าอุตสาหกรรมการบิน และการขนส่ง รวมกันเสียอีก ทําให้ขนาดของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกองทัพ มีขนาดใหญ่ เป็น อันดับ 4 รองจาก สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย

การประชุม Cop 28 ณ เมืองดูไบ ที่ผ่านมา ภัยพิบัติด้านมนุษยธรรม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ในฉนวนกาซา และยูเครน ทําให้ สงคราม ความมั่นคง และวิกฤตสภาพภูมิอากาศ อยู่ในวาระการประชุม แต่ไม่ได้นําไปสู่ขั้นตอน ที่ช่วยเพิ่มความโปร่งใส และความรับผิดชอบ สําหรับกองกําลังติดอาวุธ หรืออุตสาหกรรมการทหาร

ที่มา:
- https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/anti.13006
- https://climatetrade.com/the-worlds-most-polluting-industries/

 

 

วันทนา อรรถสถาวร และทีม ESGuniverse แปล