ฟาร์มชุมชนไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังงอกงามทั่วสหรัฐ

by ชวิศา เศรษฐบุตร, 10 พฤษภาคม 2567

ความต้องการพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นมหาศาลทั่วประเทศ จนเกิดการระดมทุนได้ 520 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชนทั่วสหรัฐอเมริกา ขยายโครงการไปกว่า 20 รัฐ บริหารจัดการรูปแบบสหกรณ์ ดูแลอย่างเท่าเทียม ยุติธรรม โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย มีโอกาสเข้าถึงพลังงานสะอาด

 

 

พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) แหล่งพลังงานธรรมชาติ สะอาด ราคาถูก ในยุครักษ์โลก และเปลี่ยนผ่านจากการใช้ฟอสซิล ที่มีความผันผวนและราคาสูง ยิ่งโลกร้อน ยิ่งต้องใช้พลังงานสูง กระเป๋าเริ่มฉีก เพราะบิลค่าไฟแต่ละเดือนสูง ทางเลือกใหม่ แหล่งพลังงานฟรีจากธรรมชาติที่ชาวบ้านผลิตได้เอง ที่ใครก็จะอยากติดตั้งเป็นเจ้าของ

ที่ทุกคนควรเข้าถึงได้ หลายๆ คนกำลังพิจารณาการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในบ้านของตน เพราะดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าพลังงานจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล และยังช่วยให้ประหยัดเงินค่าไฟฟ้าได้ในระยะยาว แต่การซื้อแผงสำหรับบ้านเดี่ยวอาจมีราคาสูง และไม่มีประสิทธิภาพมากนัก หรือบางคนเช่าตึกคอนโดอยู่ ไม่มีพื้นที่มากพอให้ติดตั้ง อีกทั้งการบริหารจัดการยังเป็นเรื่องทักษะเฉพาะทาง

หนึ่งในทางออกที่ดี คือ มองหาเพื่อนบ้านที่มีแนวคิดเหมือนกัน หากมีเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่สนใจเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์เช่นเดียวกัน จับมือชวนกันมาลงทุนในเรื่องนี้ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยดูแลบริหารจัดการแทน

จึงเป็นที่มาของ พลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน ซึ่งเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมสำหรับทั้งชุมชน ในการเข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์ มันเหมือนกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการจัดหาพลังงานแสงอาทิตย์ โดยไม่ต้องใช้แผงหลังคา และส่งเสริมความยั่งยืนในขนาดที่ใหญ่ขึ้น

 

 

 

แผงแสงอาทิตย์ชุมชนคืออะไร?
โมเดลแบ่งปันเป็นเจ้าของพลังงานสะอาด

พลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน หมายถึง โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดปานกลาง มีกำลังไฟฟ้า 5 เมกะวัตต์ โดยมีการรวมกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการเข้าถึงพลังงานสะอาดราคาถูกลงขันลงทุน อาจรวมถึงบุคคล องค์กร และบริษัท สมัครเป็นสมาชิกหรือเป็นเจ้าของร่วมกัน

ข้อดีของสวนโซลาร์ คือ ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง วางแผงโซลาร์ ไว้บนหลังคาบ้านหรือทรัพย์สินของตนเอง ผู้เข้าร่วมโซล่าร์หาพื้นที่ในการจัดสรรการติดตั้งเป็นสวนที่คนในชุมชนยอมรับ และสามารถนำไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ เช่น ในศูนย์ชุมชน, ในทุ่งนา

จึงทำให้โครงการ ถูกเรียกอีกอย่างว่า สวนพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ ฟาร์มชุมชน โดยผลิตพลังงานที่ป้อนเข้าสู่โครงข่ายไฟฟ้า

โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน เปิดโอกาสให้ผู้เช่า ธุรกิจขนาดเล็ก และองค์กรต่าง ๆ ได้รับประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในท้องถิ่น แม้ว่าพวกเขาจะไม่สามารถติดตั้งแผงบนหลังคาของตนเองได้ก็ตาม อีกทั้งยังช่วยให้ภาคครัวเรือนในกว่า 20 รัฐ เข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์ที่พวกเขาไม่สามารถผลิตได้เอง

 

 

 

พลังงานแสงอาทิตย์ชุมชนมีกระบวนการอย่างไร


พลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน ดำเนินการผ่านโซลาร์ฟาร์ม โดยหาที่ดินขนาดใหญ่่ในชุมชนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ที่ช่วยควบคุมพลังงานจำนวนมหาศาลได้

โดยผู้ลงทุนในชุมชน ถือเป็นสมาชิก จะได้รับด้รับสิทธิ์ การเข้าถึงแผงโซลาร์เซลล์ในฟาร์มตามจำนวนที่กำหนด หรือสามารถซื้อไฟฟ้าตามจำนวนที่กำหนดได้ เรียกว่า โมเดลการเป็นเจ้าของ สมาชิกจะได้รับเครดิตการใช้พลังงาน ตามจำนวนแผงที่ได้เป็นเจ้าของในฟาร์ม ผลประโยชน์จากการลงทุนร่วมเป็นเจ้าของสวนโซลาร์ คือการสามารถใช้ไฟฟ้าในราคาประหยัดา

รูปแบบการซื้อไฟฟ้าจะกำหนดตามจำนวน โดยผู้ลงทุนมีสถานะเป็น สมาชิก ทันทีที่เข้ามาร่วมเป็นสมัครสมาชิกโซลาร์ฟาร์ม สามารถซื้อไฟฟ้าในอัตราที่ต่ำกว่าราคาที่จ่ายค่าสาธารณูปโภคในระบบเดิม

 ขยายความให้เข้าใจง่ายเกี่ยวกับ รูปแบบโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน มีลักษณะคล้ายสหกรณ์ แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณและความรู้ทีมบริหารจัดการ ทำให้การพัฒนาโครงการ การเป็นเจ้าของ โดยบริษัทเอกชนหรือสาธารณูปโภค ขยายไปสู่การเปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนสมัครรับส่วนแบ่งของโครงการ ตามปริมาณไฟฟ้าที่พวกเขาใช้

“พลังงานแสงอาทิตย์ของชุมชน บริการสมาชิกหลังสมัครสมาชิกแล้ว จะมีการจ่ายไฟฟ้าจากโครงการ”

สำหรับส่วนแบ่งพลังงานที่ขายได้ สมาชิกแต่ละคนจะได้ได้รับบิลค่าไฟฟ้า เป็นครดิต โดยมีเครดิตผันแปรเป็นรายเดือน ตามปริมาณความร้อนแรงของแสงแดด เดือนไหนแดดแรงฟ้าแจ่มใสก็รับมากหน่อย เดือนไหนฝนตกฟ้าครึ้มเยอะก็รับน้อยลง

ระบบการเก็บบิลค่าไฟให้กับสมาชิกจะช่วยให้ชุมชนควรจะประหยัดค่าไฟฟ้า บิลจากผู้ให้บริการโซลาร์ชุมชน จะระบุค่าไฟฟ้าพร้อมอัตรารายได้จากหุ้นซึ่งเป็นเครดิตรไฟฟ้า ซึ่งบิลจากการขายไฟฟ้า ในราคาลดลง 5 -15 % ของราคาไฟฟ้ามาตรฐาน แล้วมันจะถูกนำไปหักลบกับบิลไฟฟ้า ตัวอย่าง เช่น หากบิลค่าไฟฟ้า มูลค่า 56 เหรียญในเเดือนที่ผ่านมา ขณะที่เครดิตค่าไฟมูลค่า 50 เหรียญ หากมีเครดิตในราคาลดลง 20 % ก็เท่ากับ 40 เหรียญ ดังนั้นจะประหยัดส่วนต่างจากบิล 10 เหรียญ (ค่าเครดิต 50 เหรียญ ลบด้วย 40 ดอลลาร์ที่คุณจ่าย)

ตั้งเป้า 5 ล้านครัวเรือนร่วมโครงการ

ด้านกระทรวงพลังงานสหรัฐ มีแแผนที่จะใช้โมเดลนี้ขยายไปในวงกว้าง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงค่าไฟฟ้าราคาต่ำ โดยตั้งเป้าหมายเข้าถึง 5 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ เข้ามาลงชื่อสมัครใช้พลังงานแสงอาทิตย์ชุมชนภายในปีหน้า ในทางปฏิบัติเชิงนโยบายของแต่ละรัฐยังมีความแตกต่างกันไป

สิ่งที่เหมือนกันคือ ใช้สมาชิกระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน จะชำระค่าธรรมเนียมรายเดือน และจะได้รับเครดิตสะสมสำหรับผู้ใช้พลังงานจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งในหลายรัฐ พลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน ได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน เนื่องจากมีประโยชน์ต่อครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ซึ่งปัจจุบันต้องแบกรับภาระจากค่าพลังงานที่ไม่เกินกว่ากำลังซื้อ

คืนเครดิตเป็นส่วนลด ปลดหนี้สาธารณูปโภค

ผู้ใช้บริการพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชนจะต้องจ่ายค่าพลังงานในอัตราที่ต่ำกว่าค่าสาธารณูปโภคตามปกติ โดยแต่ละเดือนจะมีใบเรียกเก็บเงินสองใบ ใบแรกเก็บเงินค่าไฟฟ้าจากสาธารณูปโภค และใบที่สองเก็บเงินค่าบริการพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน

ใบเรียกเก็บเงินจากผู้ให้บริการพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน จะบอกสมาชิกทราบว่าพวกเขาใช้พลังงานเท่าไร ประหยัดไปมากเพียงใดในระยะเวลาหนึ่งเดือน และจำนวนเครดิตที่ได้รับเท่าไร ซึ่งโดยปกติจะมีส่วนลด ต่ำกว่าอัตราค่าไฟฟ้ามาตรฐาน 5-15%

เครดิตเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้เป็นส่วนลดกับบิลค่าไฟฟ้าสาธารณูปโภคของพวกเขา ซึ่งจะทำให้จำนวนเงินที่เป็นหนี้ค่าสาธารณูปโภคลดลง และส่วนลดอาจยิ่งมากขึ้นไปอีก สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน บางโครงการที่จัดไว้ สำหรับสมาชิกที่มีรายได้น้อยและปานกลาง

 

 

 

กฎหมายสภาพภูมิอากาศ ไฟเขียวจ่ายเครดิตบริการ

ข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ( SEIA ) ระบุว่า โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน 6 แห่ง ขนาด 5 กิกะวัตต์ ได้รับการติดตั้งในสหรัฐอเมริกา ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2567 ด้วยแรงหนุนจากกฎหมายสภาพภูมิอากาศของไบเดน ( Biden ) กำหนดการลดหย่อนภาษีหลายประการ เพื่อปลูกพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชนเพิ่มเติม รวมถึงเครดิตสำหรับโครงการที่ให้บริการแก่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางโดยเฉพาะ

โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชนยังได้รับผลประโยชน์จากแรงจูงใจด้านพลังงานสะอาดและโครงการต่างๆ ที่สร้างขึ้น โดยพระราชบัญญัติลดเงินเฟ้อ เช่น ธนาคารสีเขียว ที่เพิ่งมีประกาศออกมาใหม่

นิยมแผง 5 เมกะวัตต์ ติดตั้งและเชื่อมต่อง่าย

แผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้งานในโครงการชุมชน ส่วนมากมีขนาดประมาณ 5 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นขนาดที่ช่วยให้การติดตั้งสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายจำหน่าย ในจุดที่พลังงานแสงอาทิตย์ในระดับสาธารณูปโภคไม่สามารถทำได้ เพราะการติดตั้งขนาดใหญ่อาจเผชิญกับความล่าช้า เนื่องจากความยากลำบากในการเชื่อมต่อโครงข่ายที่สร้างปัญหาให้กับผู้ให้บริการโครงข่ายส่งไฟฟ้า รวมถึงการตอบโต้จากกลุ่มสิ่งแวดล้อมหรือชุมชน

ผู้สนับสนุนการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชนมองว่า โครงการขนาดเล็กเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นหนทางการเข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์ในท้องถิ่น อย่างประชาธิปไตยและยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังช่วยแทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิลจากกริดด้วย และการเพิ่มที่เก็บแบตเตอรี่ให้กับแผงโซลาร์เซลล์ของชุมชน ในการติดตั้งสามารถดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินในระหว่างวันและคายประจุในช่วงบ่ายแก่ๆ หรือช่วงหัวค่ำ ซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงงานที่ใช้ก๊าซฟอสซิล


ภาคธุรกิจ ระดมทุน 520 ล้านเหรียญสหรัฐ ขานรับการขยายตัวโครงการ

ความต้องการพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นมหาศาลทั่วประเทศ ภาคธุรกิจจึงเกิดแนวคิดการติดโซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะบริษัทเน็กซ์แอมป์ ( Nexamp) ซึ่งเป็นบริษัทที่เน้นการพัฒนาโซลูชันด้านพลังงานหมุนเวียน และเป็นผู้ให้บริการชั้นนำในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน มีบทบาทในการออกแบบ, ก่อสร้าง, และบริหารจัดการโครงการพลังงานทดแทนหลายประเภท เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ โดยหนึ่งในโปรแกรมที่โดดเด่นคือ ชุมชน โซลาร์ ( Community Solar)

ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคที่ไม่สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้โดยตรงบนบ้านของตนเอง สามารถซื้อหรือเช่าพลังงานแสงอาทิตย์จากโครงการส่วนกลางได้ นอกจากนี้ยังมีการลงทุนและบริหารจัดการโครงการพลังงานทดแทนในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกา ทำให้เป็นหนึ่งในผู้นำด้านพลังงานสะอาดและการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศ กำลังสนใจเรื่องนี้ หันมาเล่นแบบเต็มกำลัง จนเกิดการระดมทุนได้ 520 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชนในสหรัฐอเมริกา

 

 

 

ปรับกลยุทธ ระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุด

เน็กซ์แอมป์ (Nexamp) ผู้พัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชนและเจ้าของโครงการ ระดมทุนได้มากถึง 520 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นการระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่เข้าซื้อหุ้นเริ่มแรกใน Nexamp ในปี 2559

ก่อนหน้านี้ในปี 2561 บริษัทได้ร่วมทุนกับบริษัท Mitsubishi Corporation ซึ่งการเข้าลงทุนครั้งนั้นช่วยให้ Nexamp สามารถขยายการดำเนินงานและโครงการพลังงานหมุนเวียนของตนได้มากขึ้น ขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัท ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับการลงทุนทางการเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดหาทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการส่งเสริมการพัฒนาโครงการและบริหารความเสี่ยงของบริษัทได้

“ ครั้งนี้เป็นการปรับกลยุทธ์ โดยการให้ทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของโครงการสวนฟาร์โซลาร์เซลล์ มีการปันผลผ่านเครดิตใช้งาน ทำให้มีคนสนใจเยอะจนสามารถระดมทุนได้ถึง 520 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นการระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุด “


อัดฉีดเงินมหาศาล ดันโครงการสู่ 19 รัฐ


ไซอิด อาเชย์ (Zaid Ashai) ซีอีโอ เน็กซ์แอมป์ (Nexamp) กล่าวว่า การอัดฉีดเงินมหาศาลของ Nexamp ทำให้บริษัทอยู่บนเส้นทางการสร้างพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน ขนาดกิกะวัตต์ใน 19 รัฐ การระดมทุนรอบนี้ นำโดยบริษัทประกันภั ยManulife Investment Management ร่วมกับนักลงทุน Diamond Generating Corporation (บริษัทในเครือของ Mitsubishi) และ Generate Capital

“การระดมทุนไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง แต่เราสังเกตเห็นว่านักลงทุนยังคงให้การสนับสนุนจากการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน และบริษัทเราวางตำแหน่งตัวเองเป็น “ มากกว่านักพัฒนา ” แม้ว่านักพัฒนาบางรายจะพลิกโครงการและเดินหน้าต่อไป Nexamp ชอบที่จะเป็นเจ้าของโครงการที่เป็นสินทรัพย์ในงบดุล เราเชื่อว่าสินทรัพย์เหล่านี้จะได้รับบริการที่ดีกว่าในฐานะเจ้าของและผู้ดำเนินการสำหรับลูกค้าของเรา”

นั่นหมายความว่า บริษัทต้องการจัดการวงจรชีวิตของสินทรัพย์พลังงานแสงอาทิตย์โดยสมบูรณ์ ตั้งแต่การพัฒนาและวิศวกรรมไปจนถึงการดำเนินงาน การได้มาซึ่งลูกค้า และการจัดการสินทรัพย์

ซีอีโอ เน็กซ์แอมป์ ยังกล่าวอีกว่า Nexamp ให้ความสำคัญกับหลักจริยธรรมของซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิด โดยในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว บริษัทได้เปิดตัวความร่วมมือกับผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 1. 5 กิกะวัตต์ กับ Heliene ซึ่งเป็นบริษัทในอเมริกาเหนือ ที่เป็นส่วนสำคัญในความสามารถในการจ่ายไฟฟ้าให้กับครัวเรือนมากกว่า 300,000 ครัวเรือนทั่วสหรัฐอเมริกา

“ เราต้องการให้แน่ใจว่าห่วงโซ่อุปทานของเราปราศจากการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับในจีนตะวันตก เรามีข้อกังวลด้านจริยธรรมอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างที่ผมบอกทีมงานของเรา ว่า you can’t do good by doing bad on the upstream in the supply chain.- คุณไม่สามารถทำความดี ด้วยการทำสิ่งที่ไม่ดี ตั้งแต่ต้นน้ำในห่วงโซ่อุปทานได้-”

คำกล่าวนี้ช่วยเตือนใจว่าการบรรลุเป้าหมายในการผลิตหรือการดำเนินธุรกิจที่มีผลกำไรควรมาพร้อมกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสวัสดิภาพของทุกคนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานนั้นๆ การละเลยหรือทำลายขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งระบบ ซึ่งอาจนำไปสู่ผลกระทบที่เสียหายในระยะยาวและทำลายความน่าเชื่อถือของธุรกิจนั้นๆ

ตั้งเป้า 5 ปี เพิ่มกำลังการผลิตรวมมากกว่า 6 กิกะวัตต์

ข้อมูลของ SEIA มองแนวโน้มในอีกห้าปีข้างหน้า เราจะได้เห็นตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชนในสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการผลิตรวมมากกว่า 6 กิกะวัตต์ และมีขนาดเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า เพื่อให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น จำเป็นต้องมีรอบการระดมทุนมากขึ้น เมื่อพูดถึงการขยายขนาดโครงการพลังงาน “ ทุนก็เหมือนออกซิเจน ถ้าไม่มีทุนก็ไปต่อได้ยาก ” ซีอีโอ เน็กซ์แอมป์ กล่าวทิ้งท้าย


ที่มา
https://www.canarymedia.com/articles/solar/nexamp-nabs-520m-to-build-community-solar-across-the-us

https://www.canarymedia.com/articles/guides-and-how-tos/what-is-community-solar-and-how-can-you-sign-up

https://www.esgtoday.com/u-s-community-solar-developer-nexamp-raises-520-million-to-accelerate-deployment/

https://solarquarter.com/2024/04/11/nexamp-secures-520-million-in-capital-raise-led-by-mitsubishi-corporation-to-propel-community-solar-growth-in-the-united-states/