‘วิมุต’ แก้วิกฤติบกพร่องสายตาอัตราสูง เปิดศูนย์เลสิกเข้าถึงการรักษาดวงตาเท่าเทียม

by ESGuniverse, 5 พฤษภาคม 2567

หมอ รพ.วิมุตชี้ คนไทยทุกวัยติดจอ-เปิดศูนย์เลสิก มอบการรักษาดวงตาด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบยั่งยืน แก้ปัญหาโรคมาพร้อมกับการจ้องหน้าจอยาวนาน ช่วยถนอมดวงตาให้มองโลกสวยได้ยืนยาว

 

ในปัจจุบัน ด้วยไลฟ์สไตล์ที่อยู่ติดหน้าจอ จึงทำให้หลายๆ คนตกอยู่ในอาการระคายเคืองตา ตาแห้ง แสบตา และตาแดง ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด โฟกัสภาพได้ช้าลง ปวดเมื่อยบริเวณดวงตา รวมไปถึงปวดศีรษะ ปวดบริเวณร่างกาย เช่น หลัง ไหล่ หรือปวดต้นคอ จากโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) หรือ CVS

 

นับเป็นความเจ็บป่วยที่เหล่าพนักงานออฟฟิศหรือสายโซเชียลเป็นกันจำนวนมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ตาจ้องมองหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไอแพด โดยมีการศึกษาพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 3 ชั่วโมงจะมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้สูง

 

จากผลสำรวจขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ชี้ ผู้คนอย่างน้อย 2.2 พันล้านคนทั่วโลกที่มีความบกพร่องทางสายตา โดยจำนวน 1 พันล้านคนมีความบกพร่องทางสายตาที่ไม่ร้ายแรงและไม่ได้รับการแก้ไข เผชิญกับความท้าทายอย่างมากสำหรับการดูแลดวงตา รวมถึงการรักษาที่ไม่ครอบคลุมและไม่เท่าเทียมกัน ทั้งในแง่ของการบริการป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ อีกทั้งยังขาดบุคลากรทางการแพทย์ผนวกกับการรวมบริการดูแลดวงตาเข้ากับระบบสุขภาพที่ไม่เสถียร

 

โดยรายงานโลกเกี่ยวกับปัญหาทางสายตามีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้และกระตุ้นการดําเนินการตามคําร้องขอของประเทศสมาชิกในการประชุมสมัชชาสุขภาพโลกครั้งที่ 70 (70th World Health Assembly) และด้วยการสนับสนุนของผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก ว่าด้วยกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับการดูแลดวงตา และเสนอคําแนะนําสําหรับการดําเนินการเพื่อปรับปรุงบริการดูแลดวงตาทั่วโลกได้ให้หลักฐานเกี่ยวกับวิกฤตของภาวะสายตาและความบกพร่องทางสายตาทั่วโลก

 

ข้อเสนอหลักของรายงานคือให้ทุกประเทศให้บริการดูแลดวงตาที่เน้นไปที่ประชาชนเป็นหลัก ซึ่งจะทําให้มั่นใจได้ว่าประชาชนจะได้รับการดูแลดวงตาอย่างต่อเนื่องได้ตลอดชีวิต สำหรับรายงานโลกเกี่ยวกับความเสื่อมของสายตามุ่งเป้าไปที่การกําหนดวาระระดับโลกเกี่ยวกับสายตา โดยในรายงานดังกล่าวจะช่วยประเทศสมาชิกและพันธมิตรโดยผู้เชี่ยวชาญชั้นนํา 73 คนจาก 25 ประเทศได้มีการเรียกร้องให้รวมการดูแลดวงตาไว้ในบริการด้านสุขภาพกระแสหลักและนโยบายการพัฒนา เกี่ยวกับความพยายามที่จะลดภาระของภาวะสายตาและการสูญเสียการมองเห็น และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมาย SDG 3.8 เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

 

SDGs ข้อที่ 3.8

ในหมวดของข้อ 3 มุ่งสร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย ด้วยการส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีสำหรับคนทุกช่วงวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน โดยต้องดำเนินการอย่างจริงจังในทุกระดับ ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาคและประเทศ ผ่านการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพและการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างถูกต้อง การกระจายบุคลากรด้านสาธารณสุขที่เพียงพอและครอบคลุม การสร้างระบบการบริการสุขภาพที่ทันสมัย เข้าถึงได้และมีคุณภาพ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการรับมือภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ซึ่งเกิดจากโรคติดต่อและไม่ติดต่อ โรคอุบัติใหม่ อุบัติเหตุ และสาธารณภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

 

สำหรับเป้าหมายย่อย 3.8 บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้

 

จากการประมาณการใหม่คาดว่า ผู้คนจำนวน 1.8 พันล้านคนอาจจะมีชีวิตอยู่กับการสูญเสียการมองเห็นที่ไม่ได้รับการรักษาภายในปี 2050 โดยส่วนใหญ่กว่า 90% อาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง (LMICs) โดยมีสัดส่วนมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกาใต้

 

จากเงื่อนไขที่วางโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และพันธมิตรใน VISION 2020 และ WHO World Report on Vision ล่าสุด คณะกรรมาธิการนี้ได้สรุปหลักฐานว่าด้วยการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาและเศรษฐกิจใหม่เพื่อแสดงให้เห็นว่า การปรับปรุงสุขภาพตาด้วยเครื่องมือ กลยุทธ์ และเงินทุนที่เหมาะสม จะมีประโยชน์ทันทีและเป็นรูปธรรมสําหรับความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและสังคมสําหรับทุกคนและทุกประเทศชาติ

 

รศ.นพ.อัมพร จงเสรีจิตต์ ผู้อำนวยการศูนย์เลสิก โรงพยาบาลวิมุต กล่าวว่า ปัญหาสายตาถือเป็นปัญหาใหญ่ที่รบกวนการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวัน ตามรายงาน World Report on Vision 2022 ขององค์การอนามัยโลก เผยว่าจากจำนวนผู้บกพร่องทางการมองเห็น 2.2 พันล้านคนในโลก มีประชากรอย่างน้อย 1 พันล้านคนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นระยะใกล้และระยะไกลที่ยังสามารถป้องกันได้หรือยังแก้ไขได้หากมีการตรวจพบอย่างทันท่วงที

 

ทั้งยังเผยอีกว่าปี 2050 คาดการณ์ประชากรโลก 50% หรือราว 3.5 พันล้านคน จะเจอปัญหาสายตาสั้น ดังนั้นทุกประเทศต้องเตรียมพร้อมรับปัญหาสายตาของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ เพราะไลฟ์สไตล์ดิจิทัลยุคใหม่ทำให้เราทุกคนเสี่ยงต่อปัญหาสายตามากขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยการมองเห็นไม่ชัด นอกจากจะทำให้เกิดความผิดพลาดและอุบัติเหตุแล้ว ก็ยังทำให้มีอาการเมื่อยล้าดวงตาและปวดหัวเรื้อรังร่วมด้วย ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก และอุปกรณ์ช่วยปรับค่าสายตาอย่าง แว่นสายตาและคอนแท็กเลนส์ก็อาจไม่เหมาะหรือตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของทุกคน

 


ด้วยเหตุนี้เทรนด์ดูแลสุขภาพตาและวงการเลสิกทั่วโลกจึงเติบโตพุ่งต่อเนื่องตามพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่ต้องใช้หน้าจอตลอดวัน ทั้งเรียนหนังสือ ทำงาน ติดต่อสื่อสาร และเสพความบันเทิง สอดรับกับการคาดการณ์ขององค์กรอนามัยโลก ว่าภายในปี 2050 ประชากรครึ่งโลกจะมีปัญหาสายตาสั้น ศูนย์เลสิก โรงพยาบาลวิมุต (ViMUT LASIK Center)” จึงได้ชูนวัตกรรมที่ปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้การทำเลสิกไม่น่ากลัวอีกต่อไป

 

ภายใต้คอนเซปต์ “ทำวันนี้ ชัดพรุ่งนี้”ด้วยนวัตกรรมเครื่อง “FEMTO LDV Z8” เพื่อการผ่าตัดรักษาค่าสายตาและการผ่าตัดต้อกระจกด้วยเลเซอร์แบบไร้ใบมีดที่ฟื้นตัวไว พร้อมสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้ใช้บริการอย่างครอบคลุมตั้งแต่การป้องกัน รักษา และฟื้นฟู โดยทางรพ. วิมุต หวังมอบการรักษาดวงตาด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบยั่งยืนเพื่อให้คนไทยใช้ชีวิตยุคใหม่ใกล้หน้าจอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เนื่องจากในประเทศไทยการทำเลสิกยังไม่สามารถใช้บัตรทองได้ นอกเหนือจากในกลุ่มคนสายตาสั้นมากและไม่สามารถสวมแว่นตาได้ โดยมีความจำเป็นต้องรักษาด้วยการทำเลสิกจริงๆ จึงจะสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้

 

รศ.นพ.อัมพร จึงได้แนะนำให้คนไทยทุกคนถนอมสายตาผ่านกรอบ 20:20:20 คือทุกๆ 20 นาทีให้พักสายตา 20 วินาทีและมองไกลๆ ไปยังสิ่งที่อยู่ไกลกว่า 20 ฟุต (หรือ 6 เมตร) พร้อมทั้งขยับร่างกาย ทำกายบริหารเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

 

Source: https://www.michiganmedicine.org/news-release/lancet-global-health-vision-loss-could-be-treated-one-billion-people-worldwide
https://www.who.int/publications/i/item/9789241516570
https://healthserv.net/healththai/9392#google_vignette
https://us.discovericl.com/blog/the-20-20-20-rule-preventing-digital-eye-strain#