3 วิธีป้องกัน ‘ฟอกเขียว’ ทำดีเพื่อโลกจากเนื้อแท้ภายใน ไม่ใช่ ‘แค่เปลือก’

by ประกายดาว แบ่งสันเทียะ /บรรณาธิการ, 11 มกราคม 2567

กระเทาะ 3 กลยุทธ์ พิสูจน์องค์กรทำดีจากเนื้อแท้ วางโครงสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมจากภายในวัฒนธรรมองค์กร (Insetting) ไม่ว่าจะถูกตัั้งคำถามอ่อนไหวหนักหน่วงเท่าใด สยบได้ทุกปมดราม่า

 

 

หากต้องรู้สึก”เจ็บปวด” กับการทำดีของเราถูกสังคมตราหน้า ก่นด่าว่า”ฟอกเขียว” (Greenwashing) ทั้งที่เราตั้งใจทำดี จนเกิดข้อสงสัย ทำไมทำดีแล้วไม่มีใครเห็น ถึงเวลาต้องกลับมาสำรวจตรวจสอบ ดูกระบวนการทำกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ หรือลูกค้าสัมพันธ์ สิ่งที่เราเรียกมันว่า “กิจกรรมการทำความดีงาม” ที่องค์กรคิดขึ้นมานั้น ผ่านการคิดแบบรอบด้านทำขึ้นเพื่อเพื่อสร้างคุณค่า มีประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายตอบโจทย์ สิ่งที่พวกเขาต้องการหรือไม่ แก้ไขปัญหาตรงจุด นำไปสู่การพัฒนายั่งยืนได้มากน้อยแค่ไหน จะได้ไม่ถูกตั้งคำถามในภายหลัง

ทีมงาน Plan A กลุุ่มบริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ได้รวบรวมวิธีการ ป้องกันข้อกล่าวหาในการฟอกเชียว หรือ กรีนวอช ซึ่งในปี 2024 นี้จะเริ่มมีมาตรการ กฎระเบียบข้อบังคับเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป ทำให้บริษัทต้องรู้และเข้าใจ สร้างแนวทางปฏิบัติของการป้องกันกาตรวจสอบการฟอกเขียวด้วยตัวเอง มีองค์ประกอบดังนี้ คือ

 

 

 

1. ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ

ทำดีด้วยความบริสุทธิ์ใจต้องเปิดข้อมูลโปร่งใสให้สาธารณชนได้รับรู้ และพร้อมรับผิดชอบกับสิ่งที่ทำไป หากทบทวนยังมีจุดอ่อนต้องปรับปรุงแก้ไข กล้าเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้องเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งที่กระทบกับสาธารณชน มีความอ่อนไหว ควรมีหน่วยงานกลางรับรองจากบุคคลที่สาม โดยที่การตรวจสอบมีความเป็นอิสระให้การรับรอง หากดำเนินการตามนี้อย่างจริงใจ ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าบริษัท อยู่ในเกณฑ์การวางกลยุทธ์การตลาดยั่งยืน มีการทำงานอย่างโปร่งใส กล้าเปิดเผยความจริงพิสูจน์ได้

 

 

 

2 การประเมินวงจรชีวิตของสินค้า (LCAs-Life Cycle Assesments)

LCAs เป็นเครื่องมือสำคัญช่วยแสดงฉลาก เผยให้เห็นถึงกรอบการทำงานประเมินผลกระททบต่อสิ่งแวดล้อมในสินค้า ทำให้เกิดการยอมรับได้ เพราะก่อนผุู้บริโภคยุคปัจจุบันจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ต จะอ่านฉลากเปรียบเทียบก่อน หากสินค้าเหมือนกัน แต่สิ่งที่จะพิชิตใจเหนือกว่าสินต้าคู่แข่ง คือคุณค่าด้านการเคารพรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม มาการันตี นี่คือสิ่งอ่อนไหวที่เป็นตัวชี้วัดให้กับผู้บริโภคได้ตัดสินใจเลือกสินค้าจากเรา

สำหรรับกระบวนการนำ LCAs มาใช้ จะเป็นสิ่งที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับจุดกำเนิดตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางสินค้า ประกอบด้วยอะไรบ้าง เริ่มตั้งแต่ วัตถุดิบการผลิต ส่วนผสม แหล่งที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ปล่อยคาร์บอนไปเท่าไหร่ ใช้พลังงานอะไรในการผลิต ใช้ปริมาณน้ำมากน้อยแค่ไหน และใช้ทรัพยากรอะไรเป็นองค์ประกอบ

ตลอดจนกระบวนการขนส่งสินค้ามีวิธีการอย่างไร มีการติดตามคาร์บอนฟุตพรินท์ พลังงานที่ใช้ขนส่ง และสุดท้ายอายุการใช้งาน การจำหน่ายและการขาย เป็นสินค้าผลิตจากท้องถิ่น หรือนำเข้าจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจแหล่งกำเนิดที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ได้ชัดเจน และมีผลต่อการตัดสินใจ

การแสดงถึงวงจรชีวิตของสินค้า ถือเป็นยุทธศาสตร์ ที่ป้องกันกรีนวอชได้ชัดเจน เพราะมีการรายงานถึงเส้นทาง วงจรชีวิต ที่ทำให้ลูกค้าเข้าใจ และยอมรับในความพยายามและความจริงใจในการคำนวณ จัดการประเมินเปิดเผยข้อมูลถึงผลกระทบกว่าจะผลิตสินค้าในทุกชิ้น

 

 

 

3 การผสมผสานแนวทางปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อต้านกรีนวอช

ถือเป็นสิ่งที่บริษัทจะต้องวางแผนดำเนินการในการนำประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ต้องนำเอาแนวทางการปฏิบัติทางด้านสิ่งแวดล้อมเเข้ามาอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร ทำให้เกิดเป็นแนวทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของธุรกิจ สอดแทรกในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การจำหน่าย, กระบวนการผลิต, และเครือข่ายการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้า
เป็นการแสดงให้เห็นว่า การันตีได้ว่าการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ ที่เริ่มต้นจากภายในองค์กร (Insetting) ไม่ใช่มาทำตอนหลัง (Offsetting) บางองค์กรที่มีกระบวนการผลิตปล่อยคาร์บอนสูงเพราะไม่ได้วางแผนตั้งแต่ต้น ก็จำเป็นต้องมาซื้อคาร์บอนเครดิตรชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภายหลัง